องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

องค์ประกอบของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประกอบด้วย

          (1) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ
          (2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวนสี่คนเป็นกรรมการ ประกอบด้วย
                (2.1) ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านกฎหมายสองคนโดยหนึ่งคนต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมายปกครอง เป็นกรรมการ
                (2.2) ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านรัฐศาสตร์หนึ่งคน เป็นกรรมการ
                (2.3) ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการองค์กร และ/หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์หนึ่งคน เป็นกรรมการ
          (3) พนักงานมหาวิทยาลัยจำนวนสองคนประกอบด้วยพนักงานสายวิชาการหนึ่งคน และพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปหนึ่งคน เป็นกรรมการ
          (4) รองอธิการบดีที่กำกับสำนักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นเลขานุการ
          (5) หัวหน้าสำนักงานสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประกอบด้วย

          ประธานกรรมการ และกรรมการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่อาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่ง ประธานกรรมการ และกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
          (1) ตาย
          (2) ลาออก
          (3) ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการในประเภทนั้น
          (4) สภามหาวิทยาลัยให้ถอดถอน
          กรณีที่ประธานกรรมการ หรือกรรมการ ว่างลงก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการ หรือกรรมการ แทนภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง ให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการ แทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน
          ในกรณีที่คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งคณะกรมการใหม่ ให้คณะกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งคณะกรรมการใหม่แล้ว

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีดังนี้

          (1) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอุทธรณ์
          (2) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องร้องทุกข์
          (3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
          (4) เสนอแนะให้คำปรึกษาต่อสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการอุทธรณ์ และร้องทุกข์
          (5) รายงานผลการดำเนินงานต่อสภามหาวิทยาลัย
          (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัย